ชื่อ : เพชรสังฆาต
ชื่อสามัญ –
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cissus quadrangularis L.
ชื่อวงศ์ : VITACEAE
ชื่อท้องถิ่น : สันชะควด (กรุงเทพ), ขั่นข้อ (ราชบุรี), สามร้อยต่อ (ประจวบคีรีขันธ์)
ลักษณะ
ต้นเพชรสังฆาตเป็นไม้เถา เถาอ่อนสีเขียวเป็นสี่เหลี่ยมเป็นข้อต่อกัน
ใบเพชรสังฆาตใบเป็นใบเดี่ยวรูปสามเหลี่ยม แผ่นใบเรียบสีเขียวเป็นมัน ออกเรียงสลับตามข้อต้น ปลายใบมน โคนใบเว้า ขอบใบหยักมนห่าง ๆ ก้านยาว 2-3 เซนติเมตร
ดอกเพชรสังฆาตดอกเป็นสีเขียวอ่อน ออกเป็นช่อตามข้อตรงข้ามกับใบ กลีบดอกมี 4 กลีบ โคนด้านนอกสีแดง ด้านในเขียวอ่อน เมื่อดอกบานเต็มที่จะงองุ้มไปด้านล่าง ที่ดอกมีเกสรเพศผู้ 4 อัน
ผลเพชรสังฆาตผลเป็นรูปทรงกลม ผิวเรียบเป็นมัน ผลอ่อนสีเขียว ผลสุกสีแดงออกดำ ในผลมีเมล็ดกลมสีน้ำตาล 1 เมล็ด โดยส่วนที่นำมาใช้เป็นยาสมุนไพร ได้แก่ เถา ราก ใบยอดอ่อน และน้ำจากต้น
ประโยชน์
- เพชรสังฆาตใช้ปรุงเป็นยาธาตุ ช่วยให้เจริญอาหาร (น้ำจากต้น)
- น้ำจากต้นเพชรสังฆาตใช้หยอดหู แก้น้ำหนวกไหล (น้ำจากต้น)
- น้ำจากต้นเพชรสังฆาตใช้หยอดจมูก แก้เลือดเสียในสตรี ประจำเดือนไม่ปกติ (น้ำจากต้น)
- ช่วยขับน้ำเหลืองเสีย (ต้น)
- ใช้เถาเพชรสังฆาตคั้นเอาน้ำมาดื่มแก้โรคลักปิดลักเปิดหรือโรคเลือดออกตามไรฟันได้ (เถา, น้ำคั้นจากต้น)
- ช่วยรักษาโรคลำไส้ที่เกี่ยวกับอาหารไม่ย่อย (ใบยอดอ่อน)
- เพชรสังฆาตมีสรรพคุณช่วยขับลมในลำไส้ (เถา)
- แก้อาการประจำเดือนมาไม่ปกติ (เถา, น้ำคันจากต้น)
- แก้กระดูกแตก หัก ซ้น (เถา)
- ใช้เป็นยาพอกเมื่อกระดูกหัก (ใบ, ราก)
- ใช้เป็นยารักษาริดสีดวง
แหล่งอ้างอิง
medthai.com/เพชรสังฆาต/