ชื่อ : ผักชีฝรั่ง
ชื่อสามัญ : Culantro, Long coriander, Sawtooth coriander
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Eryngium foetidum L.
ชื่อวงศ์ : APIACEAE หรือ UMBELLIFERAE
ชื่อท้องถิ่น : ผักชีดอย ผักจีดอย ผักจีฝรั่ง หอมป้อมกุลา หอมป้อมกูลวา ห้อมป้อมเป้อ (เชียงใหม่, ภาคเหนือ), มะและเด๊าะ (แม่ฮ่องสอน), ผักชีใบเลื่อย (ขอนแก่น,พิจิตร), ผักหอมเทศ ผักหอมเป (เลย,ขอนแก่น), หอมป้อม หอมเป (ชัยภูมิ), หอมน้อยฮ้อ (อุตรดิตถ์), หอมป้อมเปอะ (กำแพงเพชร)
ลักษณะ
ผักชีฝรั่งมีลำต้นเตี้ย ๆ ติดดิน ใบ เป็นใบเดี่ยวออกรอบ ๆ โคนต้น ไม่มีก้านใบ ใบรูปหอก ยาวรี ใบออกเรียงแบบกระจุกรอบ ๆ โคนต้นใกล้กับพื้นดิน ลักษณะของแผ่นใบเป็นรูปคล้ายใบหอก ปลายใบมีลักษณะมน
ใบยาวยาวประมาณ 10 – 15 เซนติเมตร ความกว้างใบประมาณ 2 – 3 เซนติเมตร ขอบใบเป็นหยักเหมือนซี่ฟันเลื่อย รากเป็นรากฝอยสั้น ๆ อยู่รอบ ๆ โคนต้น
ประโยชน์
- ผักชีฝรั่งมีสารต่อต้านอนุมูลอิสระสูง ซึ่งช่วยชะลอการเสื่อมของเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกาย (ใบ)
- ผักชีฝรั่งมีประโยชน์ช่วยบำรุงกระดูกและฟันให้แข็งแรง (ใบ)
- ช่วยยับยั้งและชะลอการขยายตัวของเซลล์มะเร็ง ช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง (ใบ)
- ช่วยลดระดับความดันโลหิต (ลำต้น)
- ช่วยทำให้ต่อมไทรอยด์ทำงานได้อย่างเป็นปกติ (ลำต้น)
- ช่วยบำรุงผิวพรรณ เส้นผม และเล็บให้แข็งแรง (ลำต้น)
- ช่วยรักษาสมดุลในร่างกายได้เป็นอย่างดี (ใบทำเป็นชาชงดื่มวันละ 3 ถ้วย)
- ช่วยกระตุ้นร่างกาย (ใบ, น้ำต้มจากราก)
- ช่วยบรรเทาอาการปวดศีรษะ (ทั้งต้น)
- ช่วยขับเหงื่อ (น้ำต้มจากราก)
- ช่วยแก้ไข้ (ใบ, น้ำต้มจากราก)
- ช่วยแก้ไข้มาลาเรีย ด้วยการใช้ลำต้นของผักชีฝรั่งนำมาต้มกับน้ำแล้วนำมาดื่ม (ลำต้น)
- ช่วยแก้อาการหวัด (ใบ)
- ช่วยระบายท้อง ด้วยการใช้น้ำคั้นหรือน้ำต้มจากใบนำมาดื่ม (ใบ)
- ช่วยขับลมในกระเพาะอาหาร (ลำต้น)
- ใช้เป็นยาถ่าย ด้วยการใช้ลำต้นของผักชีฝรั่งนำมาต้มกับน้ำแล้วนำมาดื่ม (ลำต้น)
- ช่วยแก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ (ใบ)
- ช่วยแก้อาการอาหารเป็นพิษ (ทั้งต้น)
- ช่วยขับปัสสาวะ (น้ำต้มจากราก)
- ช่วยรักษาผดผื่นคันตามผิวหนัง
- ช่วยฆ่าเชื้อโรค (ลำต้น)
- ช่วยแก้พิษงู ด้วยการใช้ลำต้นนำมาตำแล้วนำมาพอกบริเวณที่โดนกัด (ลำต้น)
- ช่วยแก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย (ทั้งต้น)
- ช่วยรักษาแผลเรื้อรัง ด้วยการใช้ใบนำมาตำแล้วพอกบริเวณที่เป็น (ใบ)
- มีส่วนช่วยทำให้เลือดหยุดไหลเร็วขึ้น (ใบ)
- ช่วยแก้อาการปวดเมื่อยตามร่างกาย ด้วยการใช้ลำต้นของผักชีฝรั่งนำมาตำผสมกับน้ำมันงาแล้วนำไปหมกไฟให้สุก จึงค่อยนำมาประคบแก้อาการปวดเมื่อย (ลำต้น)
- ช่วยแก้บวม ด้วยการใช้ใบนำมาตำแล้วพอกบริเวณที่เป็น (ใบ)
- ช่วยทดแทนการเสียธาตุเหล็กสำหรับหญิงให้นมบุตร (ใบ)
- ผักชีฝรั่งมีสรรพคุณช่วยบำรุงกำหนัด เสริมสร้างความต้องการทางเพศ (น้ำต้มจากทั้งต้น)
- ช่วยดับกลิ่นปากได้เป็นอย่างดีและทำให้ลมหายใจสดชื่นขึ้น(ใบ)
- ช่วยเพิ่มรสชาติให้อาหาร (ใบ)
- ช่วยดับกลิ่นคาวอาหาร (ใบ)
- ใบและใบอ่อนของผักชีฝรั่งนิยมนำมารับประทานเป็นผักสด อาจจะเป็นผักแกล้มกับน้ำพริก ลาบ ก้อย และยำต่าง ๆ รวมไปถึงสารพัดต้มยำด้วย (ใบ)
แหล่งอ้างอิง
medthai.com/ผักชีฝรั่ง/
www.scimath.org/article/item/4833-2016-08-08-08-18-35