ชื่อวิทยาศาสตร์ : Goniothalamus laoticus (Finet & Gagnep.) Ban
ชื่อเรียกอื่น : จำปีหิน (ชุมพร), นมงัว (ปราจีนบุรี), ปอขี้แฮด (เชียงใหม่)
ชื่อวงศ์ : ANNONACEAE
ลักษณะ : ไม้ต้นขนาดเล็ก สูง 4-8 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มโปร่ง เปลือกหนาสีเทาอมดำ ใบเดี่ยว เรียงสลับสองข้างกิ่งในระนาบเดียวกัน แผ่นใบรูปขอบขนานแกมรูปไข่กลับ ปลายเรียวแหลม โคนใบสอบ ใบด้านบนสีเขียวเข้มเป็นมัน ด้านล่างสีอ่อนกว่า ก้านใบยาว ดอก เดี่ยวหรืออกเป็นกระจุก 2-5 ดอก ตามลำต้น กิ่งและตามง่ามใบ ก้านดอกยาว กลีบดอกยาวสีเหลืองนวลถึงสีชมพู ผล ออกเป็นกลุ่ม 6-12 ผล รูปกลมรี หรือทรงกระบอก ไม่มีก้านผล สีเขียวอมเหลือง
การกระจายพันธุ์ : ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันตกเฉียงใต้ของไทย ต่างประเทศพบที่ลาวและเวียตนาม ขึ้นในป่าดิบแล้ง ที่ระดับความสูง 200-900 เมตร
ช่วงเวลาการออกดอก : เดือนเมษายน – กรกฏาคม
ประโยชน์ : ลำต้นข้าวหลามดง นำมาผ่าซีกแล้วต้มให้แม่อยู่กำ(อยู่ไฟ)กิน เพื่อรักษามดลูก เรียกน้ำนม อาจจะใส่สมุนไพรบำรุงน้ำนมตัวอื่นๆ เช่น นมวัว นมสาว นมน้อย นมแมว ลงไปด้วยก็ได้ ลำต้นข้าวหลามดง นำมาผ่าซีกแล้วต้มกิน หรือต้มรวมกับสมุนไพรยากำลังตัวอื่นๆ เช่น โด่ไม่รู้ล้ม ช้างน้าว นมสาว ตาไก้(กำแพงเจ็ดชั้น) เป็นต้น