ชื่อวิทยาศาสตร์ : Peltophorum dasyrachis (Miq.) Kurz
ชื่อเรียกอื่น : คางฮุ่ง จ๊าขาม ซ้าขม อินทรี ร้าง อะล้าง
ชื่อวงศ์ : CAESALPINIACEAE
ลักษณะ : ไม้ต้นสูง 10-30 ม. ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนกสองชั้น ช่อรวม ยาว 15-40 ซม. ใบย่อย 6-16 คู่ รูปขอบขนานแคบ กว้าง 5 มม. ยาว 10-15 มม. โคนเบี้ยว ดอก สีเหลือง ออกเป็นช่อห้อย ยาว 10-20 ซม. กลีบรองดอก 5 กลีบ กลีบดอก 5 กลีบ รูปป้อม ผิวกลีบย่น เกสรผู้มี 10 อัน ผล เป็นฝักแบน กว้าง 2-8 ซม. ยาว 10-15 ซม. โคนและปลายฝักเรียวแหลม เมล็ดแบน เรียงตัวตามขวาง 1-8 เมล็ด
การกระจายพันธุ์ :
ช่วงเวลาการออกดอก : ดอกอะรางจะบานในช่วงเดือนมกราคมถึงมีนาคม
ประโยชน์ :
- นิยมใช้ปลูกเป็นไม้เบิกนำ เนื่องจากเป็นไม้โตเร็ว จึงเหมาะสำหรับการปลูกเพื่อฟื้นฟูป่าที่เสื่อมโทรม
- ต้นอะรางสามารถนำมาปลูกเพื่อเป็นไม้ประดับได้ เนื่องจากมีลักษณะของทรงพุ่มที่สวยงาม ดอกสวยมีสัน ทนความแล้งได้ดี ลักษณะโดยรวมคล้ายกับต้นนนทรี แต่ช่อดอกจะห้อยลง เหมาะแก่การปลูกในพื้นที่กว้าง หรือเป็นไม้ให้ร่มเงาตามสวนสาธารณะ ริมถนน ทางเดิน ที่จอดรถ ตามรีสอร์ท หรือริมทะเล ฯลฯ
- เปลือกต้นที่มีอายุมากใช้รับประทานได้ โดยขุดผิวด้านในออกมาแล้วสับให้ละเอียด ใส่ในส้มตำร่วมกับสับปะรดและมดแดง
- เปลือกสามารถนำมาต้มกับเทียนไข เพื่อนำมาใช้ถูพื้นได้
- เปลือกต้นใช้เป็นสีสำหรับย้อมผ้าได้ โดยจะให้สีน้ำตาลแดง
- เนื้อไม้อะรางสามารถเลื่อยผ่า ไสกบ และตกแต่งได้ง่าย จึงสามารถนำมาใช้ทำเครื่องเรือน วัสดุในการสร้างบ้าน เช่น ไม้กระดาน หน้าต่าง วงกบประตู ฯลฯ และยังใช้ทำเป็นเครื่องมือกสิกรรมต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี