ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pterocarpus macrocarpus Kurz
ชื่อเรียกอื่น : ประดู่ ประดู่ป่า (ภาคกลาง) ประดู่เสน (ราชบุรี สระบุรี) ตะเลอ เตอะลอ (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน) ฉะนอง (เชียงใหม่) ดู่ ดู่ป่า กะเลน (ภาคเหนือ) จิต๊อก (ชาน แม่ฮ่องสอน)
ชื่อวงศ์ : FABACEAE (LEGUMINOSAE-PAPILIONOIDEAE)
ลักษณะ : ไม้ต้นสูง 15-30 เมตร ใบประกอบขนนกเรียงสลับ ใบย่อยมี3-13 คู่เรียงสลับ แนใบรูปไข่ หรือขอบขนาน โคนใบรูปลิ่มถึงกลม ปลายใบแหลม หรือเป็นติ่งแหลม ช่อดอกแบบช่อกระจะแยกแขนง ออกตามชอกใบใกล้ปลายกิ่ง ดอกสีเหลือง กลีบเลี้ยงรูประฆังปลายแยกเป็น 5 แฉก กลีบดอกรูปถั่ว เกสรเพศผู้ 10 อัน ผลเป็นฝักแบนคล้ายโล่ มีปีกเป็ฯแผ่นกลม เมล็ด 1-2 เมล็ด รูปทรงรี
การกระจายพันธุ์ : ป่าเบญจพรรณแล้ง ป่าเบญจพรรณผสม และในป่าดิบแล้งทั่ว ๆ ไป ในประเทศอินเดีย อินโดนีเซีย ลาว ไทย กัมพูชา และทางใต้ของเวียดนาม
ช่วงเวลาการออกดอก : มีนาคม – เมษายน
ประโยชน์ : เนื้อไม้ประดู่ป่าใช้ในการก่อสร้างทั่ว ๆ ไป ใช้ได้ทั้งภายในและภายนอก