ชื่อวิทยาศาสตร์ : Albizia odoratissima (L.f.) Benth.
ชื่อเรียกอื่น : กางแดง คางแดง จันทน์ มะขามป่า
ชื่อวงศ์ : FABACEAE (LEGUMINOSAE-MIMOSOIDEAE)
ลักษณะ : ไม้ต้น สูง 10-15 เมตรปลายยอดและกิ่งอ่อนมีรอยแผล ระบายอากาศ ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนกสองชั้น ยาว 20-30 ซม. ใบย่อย 10-16 คู่ รูปขอบขนานแกมเบี้ยว กว้าง 0.6-1.2 ซม. ยาว 1.1-3.5 ซม. ดอก สีขาว ออกเป็นช่อตามกิ่ง ยาว 10-20 ซม. ช่อดอกย่อยประกอบด้วยดอกย่อยหลายดอก รวมกันเป็นกลุ่ม กลีบรองดอกรูปหลอดปลายเป็นซี่เล็ก กลีบดอกรูปกรวย ยาว 6.5-9 มม. ปลายแยกเป็นแฉก เกสรผู้จำนวนมาก ผล เป็นฝักแบนรูป ขอบขนาน กว้าง 2.5-3 ซม. ยาว 17-20 ซม. เมื่อแก่มีสีน้ำตาลเข้ม และแตกด้านข้าง เมล็ด รูปรีกว้าง
การกระจายพันธุ์ : มีเขตการกระจายพันธุ์ตั้งแต่อินเดียจนถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในประเทศไทยพบขึ้นตามป่าดิบเขาและป่าผลัดใบ ที่ระดับความสูงถึง 1,000 เมตร จากระดับน้ำทะเล
ช่วงเวลาการออกดอก : มีนาคม ถึง เดือนพฤษภาคม
การกระจายพันธุ์ : มีเขตการกระจายพันธุ์ตั้งแต่อินเดียจนถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในประเทศไทยพบขึ้นตามป่าดิบเขาและป่าผลัดใบ ที่ระดับความสูงถึง 1,000 เมตร จากระดับน้ำทะเล
ช่วงเวลาการออกดอก : มีนาคม ถึง เดือนพฤษภาคม
ประโยชน์ :
- ดอกและเปลือกใช้เป็นยาบำรุงธาตุ
- ใบมีรสฝาดเฝื่อน ใช้เป็นยาแก้ไข้
- ดอกมีรสหวานใช้เป็นยาแก้ตาอักเสบ
- เปลือกต้นใช้ต้มเอาน้ำแล้วอมไว้ในปาก แก้อาการปวดฟัน
- เปลือกมีรสฝาดเฝื่อน ใช้เป็นยาแก้ท้องร่วง แก้ลำไส้พิการ
- เปลือกใช้เป็นยาแก้พยาธิ
- ใช้เป็นยาแก้ตกโลหิต
- เปลือกใช้ฝนรักษาแผลโรคเรื้อน แผลเปื่อยเรื้อรังและทาฝี
- เปลือกใช้เป็นยาแก้ฝี แก้บวม
- ดอกใช้เป็นยาแก้คุดทะราด
- ดอกใช้เป็นยาแก้ปวดบาดแผล แก้พิษฟกบวม
- เนื้อไม้สามารถนำมาใช้ในการสร้างบ้าน ก่อสร้างภายในที่ไม่รับน้ำหนักมาก ทำไม้อัด เป็นเฟอร์นิเจอร์ ฯลฯ
- ชาวไทใหญ่จะใช้ยอดอ่อนในพิธีสร้างบ้านเพื่อความเป็นสิริมงคล