ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dalbergia cultrata Graham ex Benth.
ชื่อเรียกอื่น : กำพี้ (เพชรบูรณ์) เก็ดเขาควาย เก็ดดำ (เหนือ) กระพี้ (กลาง) อีเม็งใบมน (อุดรธานี) เวียด จักจัน (ฉาน เชียงใหม่)
ชื่อวงศ์ : LEGUMINOSAE-PAPILIONOIDEAE
ลักษณะ : ไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ผลัดใบ สูง 15-25 ม. เรือนยอดเป็นพุ่มกลมยาว ใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ เรียงสลับ มีใบย่อย 7-13 ใบ เรียงสลับ รูปไข่กลับหรือรูปไข่กลับแกมรูปขอบขนาน ช่อดอกแบบช่อแยกแขนง ออกตามง่ามใบใกล้ยอด มีดอกดกดูคล้ายเป็นกระจุก ดอกรูปดอกถั่ว กลีบเลี้ยงเล็ก ติดกันคล้ายรูปถ้วยตื้นๆ กลีบดอก 5 กลีบ สีขาวอมชมพู เกสรเพศผู้ 9 อัน ก้านชูอับเรณูติดกันเป็นแผ่น ฝักแบนรูปคล้ายกระสวย ฝักตรงหรือโค้งงอเล็กน้อย ฝักแก่ไม่แตก เมล็ดสีน้ำตาล คล้ายรูปไต ส่วนมากมีเพียงเมล็ดเดียว ฝักที่มี 2-3 เมล็ด พบน้อยมาก
การกระจายพันธุ์ : พบขึ้นทั่วไปในป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณ และป่าเต็งรัง อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลไม่เกิน 1,000 เมตร
ช่วงเวลาการออกดอก : มีนาคมถึงเมษายน
ประโยชน์ : เครื่องใช้สอย,เนื้อไม้แข็งมาก ทนทาน เลื่อยไสกบตบแต่งค่อนข้างยาก แต่ขัดมันได้ดี เนื้อไม้สวยงาม ทำเครื่องเรือนต่างๆ ที่ต้องการความสวยงาม เครื่องประดับบ้านชั้นสูง เครื่องกลึง แกะสลัก ด้ามเครื่องมือ เช่น ปืน ฆ้อน ขวาน หอก มีด คันซอ ไม้ถือ พานท้ายปืน เสา บุผนัง ส่วนประกอบของเกวียน เพลา ใบพัดเรือ กระสวย กลอง โทน จะเข้ ขลุ่ย รางและลูกระนาด กรับ ฆ้องวง ตัวแคน ลักษณะคล้ายไม้สาธรซึ่งใช้แทนกันได้