ชื่อวิทยาศาสตร์ : Tiliacora triandra (Colebr.) Diels
ชื่อเรียกอื่น : จ้อยนาง เถาวัลย์เขียว ยาดนาง
ชื่อวงศ์ : Menispermaceae
ลักษณะ : ไม้เถาเลื้อย อายุหลายปี ยาว ๑ – ๓ ม. ใบเดี่ยว เรียงสลับสีเขียวเข้ม ดอกออกเป็นช่อ แตกแขนงขนาดเล็ก มีดอกย่อยสีเหลืองขนาดเล็ก ผลรูปทรงกลม สีเขียว เมื่อสุกเปลี่ยนเป็นสีส้มแดง ออกดอกช่วงเดือนมีนาคม – พฤษภาคม ขยายพันธุ์โดยการปักชำกิ่ง
การกระจายพันธุ์ : เป็นพืชที่พบมากในบริเวณป่ารก และป่าโปร่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และพบได้ในภาคอื่นๆ เป็นพืชที่เติบโตได้ดีในทุกสภาพดิน และมีทนต่อความแห้งแล้งได้ดี สามารถปลูก และขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด
ช่วงเวลาการออกดอก : มีนาคม – พฤษภาคม
ประโยชน์ : ใบใช้เป็นส่วนประกอบในแกงหน่อไม้ และนำไปสกัดด้วยนํ้าได้เป็นนํ้าย่านางสีเขียวเข้ม ใช้ทำซุบหน่อไม้หรือเครื่องดื่มสมุนไพร
ราก รสจืด รสจืดขม ใช้ในตำรับยาแก้ไข้เบญจโลกวิเชียร (ประกอบด้วยรากย่านาง รวมกับรากเท้ายายม่อม รากมะเดื่อชุมพร รากคนทา รากชิงชี่ อย่างละเท่าๆกัน) แก้ไข้ (ใช้รากแห้งครั้งละ 1 กำมือ หรือประมาณ 15 กรัม ต้มกับน้ำดื่มก่อนอาหารเช้า กลางวัน เย็น) แก้พิษเมาเบื่อ กระทุ้งพิษไข้ แก้เมาสุรา ถอนพิษผิดสำแดง นำมาต้มกินเป็นยาแก้อีสุกอีใส ตุ่มผื่น แก้ไข้ ขับพิษต่างๆ แก้ท้องผูก ปรุงยาแก้ไข้รากสาด ไข้กลับ ไข้หัว ไข้พิษ ไข้สันนิบาต ไข้ป่าเรื้องรัง ไข้ทับระดู บำรุงหัวใจ บำรุงธาตุ แก้พิษภายในให้ตกสิ้น แก้โรคหัวใจบวม แก้กำเดา แก้ลม แก้ไข้จับสั่น แก้เมาสุรา รากผสมกับรากหมาน้อย ต้มกินแก้ไข้มาลาเรีย ลำต้น รสจืดขม ถอนพิษผิดสำแดง รักษาพิษไข้ แก้ไข้ตัวร้อน แก้ไข้พิษ แก้ไข้รากสาด ไข้ดำแดง ไข้ฝีดาษ ไข้เซื่องซึม ไข้กลับไข้ซ้ำ แก้ลิ้นเป็นฝ้าขาว แก้ลิ้นแข็งกระด้าง รักษาโรคปวดข้อ ก้านที่มีใบผสมกับพืชอื่นใช้เป็นยาแก้ท้องเสีย ใบ รสจืดขม รับประทานถอนพิษ แก้ไข้ แก้ไข้รากสาด ไข้พิษ ไข้เซื่องซึม ไข้หัว ไข้พิษ ปวดหัวตัวร้อน อีสุกอีใส หัด ลิ้นกระด้างคางแข็ง เป็นยากวาดคอ แก้ไข้ฝีดาษ ไข้ดำแดง