ชื่อวิทยาศาสตร์ : Mimusops elengi Linn.
ชื่อเรียกอื่น : มะเมา แก้ว พิกุลป่า พิกุลเขา พิกุลเถื่อน
ชื่อวงศ์ : SAPOTACEAE
ลักษณะ : เป็นไม้พุ่มขนาดเล็กถึงกลางความสูง 5-15 เมตร ใบเป็นใบเดี่ยวรูปหอกแคบๆ โคนใบแหลม ปลายใบมนหรือแหลม ใบเกลี้ยงขอบใบเรียบเป็นคลื่น ดอกออกเป็นกระจุกใหญ่ตามปลายกิ่ง หรือตามง่ามใบ ดอกออกดอกเดี่ยว ที่ปลายกิ่งและซอกใบ แต่อยู่รวมกันเป็นกระจุก มี 24 กลีบ เรียงซ้อนกันเป็น 2 ชั้น ชั้นใน 16 กลีบ ชั้นนอก 8 กลีบ สีขาวมีกลิ่นหอม แล้วเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอมน้ำตาลเมื่อโรย ออกดอกเกือบตลอดทั้งปี ผลกลมรีหัวท้ายแหลม ผลสุกมีสีเหลือง สีส้มหรือสีแดง มี 1-2 เมล็ด
การกระจายพันธุ์ : พบได้ทั่วไปทุกภาคของประเทศ นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ
ช่วงเวลาการออกดอก :
ประโยชน์ : ดอก มีกลิ่นหอมเย็น ใช้แต่งกลิ่นเครื่องสำอาง เข้ายาหอม ยานัตถุ์ แก้ลม แก้ไข้ บำรุงหัวใจ แก้ปวดหัว แก้เจ็บคอ แก้ร้อนใน ฝาดสมาน แก้ท้องเสีย บำรุงโลหิต แก้ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ดอกพิกุลตามสรรพคุณยาไทย จัดเข้าเครื่องยาพิกัดเกสรทั้ง 5 หรือใช้ผสมกับดอกไม้อื่น ที่มีกลิ่นหอมเพื่อทำบุหงา ผลดิบและเปลือก ฝาดสมาน แก้ไข้ แก้ท้องเสีย เปลือกต้น รสฝาด ใช้ปรุงเป็นยาแก้เหงือกอักเสบ ใบ รสเบื่อฝาด แก้กามโรค แก้หืด ฆ่าพยาธิ เมล็ด ช่วยขับปัสสาวะ รักษาท้องผูก ราก มีรสขมเฝื่อน เข้ายาบำรุงโลหิต แก้เสมหะ แก้ลม แก่น มีรสขมเฝื่อน เข้ายาบำรุงโลหิต ยาแก้ไข้ ขอนดอก เป็นเครื่องยาไทย อาจได้จากต้นพิกุลหรือตะแบกต้นแก่ๆ มีเชื้อราเจริญเข้าไปในเนื้อไม้ แต่โบราณว่าขอนดอกที่ได้จากต้นพิกุลจะมีคุณภาพดีกว่า ขอนดอกมีกลิ่นหอม รสจืด มีสรรพคุณบำรุงตับ ปอด และหัวใจ บำรุงทารกในครรภ์ (ครรภรักษา) ทำให้หัวใจชุ่มชื่น