ชื่อวิทยาศาสตร์ : Coffea robusta Pierre ex Froehner L.
ชื่อเรียกอื่น :
ชื่อวงศ์ : Rubiaceae
ลักษณะ : ลำต้น เป็นลำต้นเจริญเติบโตมาจากรากแก้ว มีลักษณะเป็นข้อและปล้อง ในขณะที่กาแฟต้นยังมีขนาดเล็กจะเห็นได้ชัด โดยใบจะอยู่ตามข้อของลำต้น เมื่อต้นโตขึ้นใบจะร่วงหล่นไป และโคนใบของกาแฟมีตา 2 ชนิด คือ ตาบนและตาล่าง ตาบนจะแตกกิ่งออกมาเป็นกิ่งแขนงที่ 1 (Primary Branch) เป็นกิ่งลักษณะเป็นกิ่งนอนขนานกับพื้นดินมีข้อและปล้อง
ใบ ลักษณะเป็นใบเดี่ยว ก้านใบสั้น โคนใบและปลายใบเรียวแหลม ตรงกลางใบกว้าง ผิวใบเรียบ นุ่มเป็นมัน ขอบใบหยักเป็นคลื่น ขนาดของใบขึ้นกับพันธุ์กาแฟ ใบจะเกิดที่ข้อเป็นคู่ตรงข้ามกัน
ดอก ปกติดอกกาแฟจะมีลักษณะเป็นดอกเดี่ยวสมบูรณ์เพศ มีกลีบดอก จำนวน 4 ถึง 9 กลีบ กลีบเลี้ยง จำนวน 4 ถึง 5 ใบ มีเกสร 5 อัน รังไข่ 2 ห้อง
ผล ผลของกาแฟมีลักษณะคล้ายลูกหว้า รูปรี ก้านผลสั้น ผลดิบสีเขียว เมื่อเวลาผลสุกจะมีสีเหลือง สีส้ม สีแดง ผลของกาแฟจะแบ่งเป็น 3 ส่วน คือ 1. เปลือก (Skin) 2. เนื้อ (Pulp) มีสีเหลือง เมื่อสุกมีรสหวาน 3. กะลา (Parchment) จะห่อหุ้มเมล็ด ช่วงระหว่างเมล็ดกับกะลาจะมีเยื่อบางๆ หุ้มเมล็ดอยู่เรียกว่า เยื่อหุ้มเมล็ด (Silver Skin) ผลกาแฟแต่ละผลจะมี 2 เมล็ดประกบกัน ด้านที่ประกบกันจะอยู่ด้านในมีลักษณะแบน มีร่องบริเวณกลางเมล็ด 1 ร่อง ส่วนด้านนอกมีลักษณะโค้ง ลักษณะเมล็ดจะเป็นเดี่ยวหรือเมล็ดโทน (Pea Bean, Pea Berry) ในบางครั้งหากการผสมเกสรไม่สมบูรณ์ จะทำให้ผลติดเมล็ดเพียงเมล็ดเดียว ผลกาแฟมีเมล็ดเพียงเมล็ดเดียวรูปร่างกลมรีทั้งเมล็ด โดยมีร่องบริเวณกลางเม็ด 1 ร่อง
การกระจายพันธุ์ :
ช่วงเวลาการออกดอก : ตลอดทั้งปี
ประโยชน์ : มีคุณภาพปานกลาง กลิ่น-รส สู้กาแฟอราบิก้าไม่ได้ แต่โดยเหตุที่มีราคาถูกกว่าในการซื้อขายและในการผลิต จำนวนเปอร์เซนต์ที่ใช้ผสมในกาแฟผงจึงมีมากกว่า ปัจจุบันใช้ในอุตสาหกรรมกาแฟผงสำเร็จรูปถึง ๗๐% และ เป็นกาแฟหลักในการทำกาแฟผงชงจึงยังคงปลูกกันมากอยู่อย่างกว้างขวาง ถึงแม้ราคาจะต่ำกว่ากาแฟอราบิก้า แต่ก็เป็นการแน่นอนที่ต้นทุนการผลิตกาแฟโรบัสต้าก็ต่ำกว่าด้วย
การใช้ประโยชน์ด้านสมุนไพร :