ชื่อวิทยาศาสตร์ : Aquilaria crassna Pierre ex Lecomte
ชื่อเรียกอื่น : ไม้หอม, Eagle wood
ชื่อวงศ์ : THYMELAEACEAE
ลักษณะ : ไม้ต้นขนาดใหญ่ สูง ๒๕ – ๔๐ เมตร เปลือกเรียบสีเทา ตามยอดมีขนสีขาว ใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับ รูปรีหรือรูปไข่ ปลายเรียวแหลม โคนใบสอบมน ขอบใบเรียบ มักมีขนตามขอบใบ ผิวใบด้านบนสีเขียวเป็นมัน ด้านล่างสีจางกว่า ดอก ออกเป็นช่อสั้นๆ ที่ปลายยอดและซอกใบ สีเขียวอ่อน กลีบดอก ๕ กลีบ ผลรูปไข่
การกระจายพันธุ์ : พบในประเทศลาว กัมพูชา และเวียดนาม ในประเทศไทยพบทางภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงใต้ ตามเชิงเขาและไหล่เขาในป่าดิบแล้ง ที่ระดับความสูง ๑๕๐ – ๘๐๐ เมตร
ช่วงเวลาการออกดอก :
ประโยชน์ :
เปลือก ให้เส้นใย ใช้ทำเสื้อผ้า ถุงย่าม ที่นอน เชือก และกระดาษ
เนื้อไม้ บำรุงโลหิตในหัวใจ บำรุงตับและปอดให้เป็นปกติ แก้ลม แก้ลมซาง แก้ลมอ่อนเพลีย ทำให้ชุ่มชื่นใจ บำรุงกำลัง บำรุงธาตุ แก้ไข้ บำรุงโลหิต รักษาโรคปวดข้อ
แก่นไม้ บำรุงโลหิต บำรุงหัวใจ บำรุงตับและปอดให้ปกติ
น้ำมันจากเมล็ด รักษาโรคผิวหนัง แก้โรคเรื้อน แก้มะเร็ง
ไม่ระบุส่วนที่ใช้ บำรุงโลหิต แก้ตับและปอดพิการ แก้ไข้เพื่อเสมหะและลม บำรุงโลหิตในหัวใจ ทำตับปอดให้ปกติ คุมธาตุ
ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา ลดความดันโลหิต
ด้านการเป็นไม้ประดับ ความสนใจของไม้ต้นนี้คือ รูปทรงของลำต้นเป็นรูปเจดีย์คว่ำใบหนาเป็นมันดูเข้มแข็ง และไม่ผลัดใบ เป็นไม้ที่หายาก และมีคุณค่าสูงมาก ถือเป็นไม้มงคลชนิดหนึ่ง ปลูกไว้เป็นไม้ประดับได้สวยงาม แต่ควรพิจารณาพื้นที่ปลูกให้เหมาะสม